การแก้ไขน้ำรั่วซึมสำหรับหลังคาประเภทต่างๆ

20
Oct

ช่วงหน้าฝนส่วนใหญ่มักจะเป็นช่วงแห่งการทดสอบประสิทธิภาพของวัสดุต่างๆในการสร้างบ้าน ซึ่งทั้งนี้รวมไปถึงประสิทธิภาพการกันรั่วซึมของระบบหลังคาบ้าน ซึ่งหลังคาแต่ละรูปแบบก็มีลักษณะที่แตกต่างกันออกไปดังนั้นเราจึงควรเลือกใช้ระบบกันซึมให้เหมาะสมกับแต่ละหน้างาน

หลังคามุงกระเบื้อง

หากเป็นหลังคาบ้านทั่วไปซึ่งมีลักษณะเป็นหลังคาจั่วที่ติดตั้งด้วยการมุงกระเบื้องหลังคา ส่วนใหญ่อาจพบการรั่วซึมบริเวณต่างๆ ตัวอย่างเช่น รอยระยะต่อแผ่นของกระเบื้องมุงหลังคา เนื่องจากการติดตั้งกระเบื้องมุงหลังคาจะเป็นการเกยกระเบื้องแต่ละแผ่นไว้ซ้อนทับกัน จึงอาจทำให้นำสามารถย้อนกลับได้หากมีความลาดเอียง หรือ Slope ไม่เพียงพอ หรือแม้แต่การเสื่อมสภาพ หรือจุดเปราะแตกเสียหายของกระเบื้องมุงหลังคา ทั้งนี้สามารถทำการซ่อมแซมหลังคาบ้านลักษณะนี้ได้โดยการใช้กาวซิลิโคนหรือกาวอะคลิลิคเพื่อซ่อมแซมจุดที่เสียหาย รวมถึงการอุดจุดช่องโหว่เพื่อป้องกันปัญหาการรั่วซึมได้

ตัวอย่างหลังคามุงกระเบื้อง

หลังคาแบน (Flat Roof)

หากเป็นหลังคาลักษณะแบน การรั่วซึมอาจพบได้ง่ายหากมีการทำระบบกันซึมที่ไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งปกติกันซึมที่ใช้สำหรับหลังคาแบนทั่วไปหากเป็นหลังคาคอนกรีต จะนิยมใช้เป็นน้ำยากันซึมผสมปูน ซึ่งมีความสะดวกรวดเร็วและราคาไม่สูงนัก แต่อย่างไรก็ตามหากมีการแตกร้าวของตัวคอนกรีตก็อาจเสี่ยงต่อการรั่วซึมตามรอยร้าวนั้นได้ นอกจากนั้น หากเป็นประเภทหลังคาเบาที่ใช้วัสดุอื่นๆ เช่น วัสดุไม้ แผ่น Viva Board หรือ Fiber Cement ก็ไม่สามารถใช้ระบบกันซึมแบบน้ำได้

ทั้งนี้ ระบบกันซึมที่เหมาะสมสำหรับหลังคาแบนได้แก่ ระบบกันซึมชนิดแผ่น หรือ Waterproofing Membrane เนื่องจากเป็นลักษณะแผ่นสำเร็จสามารถปูทับวัสดุผิวหลังคาได้ทันที ไม่ว่าจะเป็นพื้นผิวคอนกรีต แผ่นหลังคาไม้ Viva Board, Smart Board และ Fiber Cement เหมาะสำหรับการออกแบบหลังคา Modern ที่มีความบางและเรียบหรู ทำให้เพิ่มลูกเล่นการออกแบบได้หลากหลายมากขึ้น

การติดตั้งระบบแผ่นกันซึมหลังคา สามารถติดตั้งได้ด้วยวิธีการใช้กาว Adhesive สำหรับแผ่นกันซึมโดยเฉพาะ เรียกว่า Fully Adhered หรือสามารถติดตั้งด้วยวิธีการเจาะยึด ที่เรียกว่า Mechanical Fastening ก็ได้กรณีติดตั้งร่วมกับแผ่นฉนวนกันความร้อน จากนั้นปิดทับรอยต่อต่างๆและหัวสกรูด้วยการเชื่อมลมร้อน (Hot Air Welding) และจบงานบริเวณขอบต่างๆด้วยอุปกรณ์พิเศษที่เรียกว่า Laminated Flashing Profiles เพื่อการป้องกันน้ำรั่วซึมได้ 100%

ตัวอย่างการแตกร้าวของคอนกรีต

ตัวอย่างหลังคาคอนกรีต

ตัวอย่างหลังคาคอนกรีตหลังติดตั้งแผ่นกันซึม (Waterproofing Membrane)

หลังคา Metal Sheet

หลังคา Metal Sheet มักจะพบการรั่วซึมบริเวณรูเจาะติดตั้ง เนื่องจากบริเวณรูเจาะจะมีแหวนยางรองน็อต ซึ่งหากแหวนยางรองมีการเสื่อมสภาพก็อาจทำให้เกิดการรั่วซึมได้ รวมถึงการออกแบบการลาดชัน (Slope) ที่ไม่ได้มาตรฐานก็อาจทำให้น้ำสามารถย้อนขึ้นบริเวณรอยต่อแผ่นได้ สำหรับการแก้ไขการรั่วซึมหลังคา Metal Sheet สามารถแก้ไขได้โดยการใช้ซิลิโคนหรือเทปกันซึมปิดบริเวณรอยต่อ แต่อย่างไรก็ตาม ทั้งซิลิโคนและเทปกันซึมหากโดนแสงแดดเป็นระยะเวลานานๆอาจเกิดการเสื่อมสภาพได้เช่นกัน

ทั้งนี้ หลังคา Metal Sheet สามารถใช้ระบบแผ่นกันซึมแก้ไขได้เช่นกัน โดยการติดตั้งจะเป็นการติดตั้งที่ด้านบนของแผ่น Metal Sheet ซึ่งอาจมีการใช้แผ่นฉนวนกันความร้อนวางเพื่อปรับระยะลอนให้เรียบเสมอกันก่อน แล้วจึงปูแผ่นกันซึมทับด้านบนอีกที การติดตั้งแผ่นกันซึมบน Metal Sheet จะใช้วิธีการเจาะยึดด้วยสกรู หรือที่เรียกว่า Mechanical Fastening ก่อน จากนั้นทำการเชื่อมปิดทับหัวสกรูด้วยเครื่องเชื่อลมร้อน (Hot Air Welding) เพื่อป้องกันการรั่วซึมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ตัวอย่างหลังคา Metal Sheet

ตัวอย่างหลังคา Metal Sheet หลังการติดตั้งแผ่นกันซึม (Waterproofing Membrane)

 

ทั้งนี้ หากท่านใดสนใจระบบกันซึมหลังคา หรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่:

Tel: 02-0625580  E-mail: sales@d1.co.th

No items found.
Written By
Masassanan Pisudchaikul
fon@d1.co.th

Related posts

blog

view blog

Get a free quote

qoute

Thank you! Your submission has been received!
Oops! Something went wrong while submitting the form.