Biophilic Design อาจจะเริ่มคุ้นหูกันมากขึ้น สำหรับใครหลายๆคน เนื่องจากเทรนด์การออกแบบในปัจจุบัน มีการนำธรรมชาติเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการออกแบบกันมากขึ้น โดย Biophilic Design สามารถตีความสั้นๆได้ว่า เป็นการออกแบบในลักษณะของการนำ "ธรรมชาติ" กลับเข้ามาสู่ตัวเมือง โดยเป็นการผสมผสานระหว่างธรรมชาติและความลงตัวของที่อยู่อาศัย เพื่อให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันนั่นเอง
ที่มาของคำว่า Biophilic เกิดจากภาษากรีก คำว่า "Bios" ซึ่งหมายถึง "ชีวิต" และ "Phila" ซึ่งหมายถึงความรักในลักษณะฉันมิตรหรือเท่าเทียม โดยมีการเกิดการผสมผสานขึ้นกลายเป็นคำว่า "Biophilic" ที่เป็นที่รู้จักกันในปัจจุบัน ซึ่งคำว่า "Biophilic" สามารถแปลอย่างง่ายๆได้ว่า "Love of Life" หรือ "ความรักในชีวิต" นั่นเอง (ref: buildernews)
ทั้งนี้ แนวคิดของ Biophilic ได้เริ่มต้นมาจากนักชีววิทยาชาวสหรัฐ ชื่อว่า Edward Osborne Wilson ซึ่ง Edward มีการเขียนหนังสือเกี่ยวกับ Biophilia ไว้เมื่อปีค.ศ. 1984 และได้นิยามแนวคิดนี้ไว้ว่า สิ่งมีชีวิตทั้งหมดนั้นเป็นผลผลิตของธรรมชาติ และจะมีความเชื่อมโยงเข้าหากันอย่างเป็นธรรมชาติโดยไม่ต้องปรุงแต่ง
Biophilia “is the innately emotional affiliation of human beings to other living organisms” Edward Osborne Wilson, 1984
และเมื่อพูดถึงการออกแบบทางสถาปัตยกรรม การผสมผสานการออกแบบกับแนวคิดของ Biophilic Design จึงเป็นการออกแบบที่ไม่ใช่แค่การปลูกต้นไม้ หรือ การออกแบบให้เข้ากับธรรมชาติเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการออกแบบที่คำนึงถึงการใช้ชีวิตของผู้คนที่อาศัย ให้มีสุขภาพ (Health) และ คุณภาพชีวิตที่ดี (Well-being) โดยการเชื่อมโยงให้ผู้คนเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติอย่างแท้จริง
ตัวอย่างการออกแบบ Biophilic Design สามารถทำได้ไม่ยาก โดยอาจเริ่มจากการเพิ่มพื้นที่สีเขียวที่ให้ผู้คนมีความใกล้ชิดกับธรรมชาติมากขึ้น การคำนึงถึงแสงสว่างที่เพียงพอ หรือการมีพื้นที่โล่งเพื่อรับอากาศบริสุทธิ์จากธรรมชาติ เป็นต้น ซึ่งทั้งนี้เอง การออกแบบ Biophilic Design นอกจากจะช่วยเรื่องความสวยงามแล้ว ยังมีผลวิจัยจากเมืองนอก ให้การสนับสนุนว่า การออกแบบ Biophilic Design สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของผู้อยู่อาศัยในด้านต่างๆได้ เช่น;
- Biophilic design in workplace หรือในที่ทำงาน จะช่วยให้ประสิทธิภาพการทำงานเพิ่มขึ้น 8% และทำให้ผู้คนที่อยู่อาศัย มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นถึง 13%
- Biophilic Design in hospitality หรือในโรงแรมหรือที่พักต่างๆ จะช่วยเพิ่มบรรยากาศให้ผ่อนคลายมากขึ้น อีกทั้งยังเพิ่มมูลค่าที่พักได้ถึง 23%
- Biophilic Design in Healthcare space หรือตามสถานโรงพยาบาลต่างๆ จะช่วยให้คนไข้ลดระยะเวลาพักฟื้นภายหลังการผ่าตัดได้ถึง 8.5% และช่วยบรรเทาอาการจากการรักษาถึง 22%
- Biophilic Design in School หรือในโรงเรียนหรือสถานศึกษาต่างๆ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพทางการเรียนได้ถึง 20-25%
- Biophilic Design in Retails หรือในร้านค้าต่างๆ จะช่วยเพิ่มความน่าซื้อสินค้าขึ้น 8-12% (ref: www.oliverheath.com; Connecting with nature to improve health and well being)
“Biophilic design enhance the way we feel, work and create”
ทั้งนี้ การทำสวนแนวตั้ง (Green Wall/ Vertical Garden) สามารถเป็นส่วนหนึ่งในการออกแบบ Biophilic Design ได้ เนื่องจากสวนแนวตั้ง นอกจากจะช่วยเรื่องความสวยงามแล้ว ยังช่วยกรองอากาศ หรือฝุ่นละอองต่างๆ ทำให้อากาศบริสุทธิ์ขึ้น อีกทั้งยังช่วยให้เรารู้สึกสดชื่นจากต้นไม้นานาพันธุ์ หากติดตั้งในส่วนที่ทำงาน ก็จะทำให้การทำงานของเราไม่น่าเบื่อ หรือหากติดตั้งตามสถานที่ท่องเที่ยว หรือโรงแรมรีสอร์ทต่างๆ ก็จะช่วยให้ผู้เข้าพักมีความผ่อนคลายมากขึ้น อีกทั้งยังช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับตึกอาคารอีกด้วย
หากท่านใดสนใจการติดตั้งระบบสวนแนวตั้ง โดยทีมงานมืออาชีพ สามารถติดต่อได้ที่;
Tel: 02-0625580 E-mail: sales@d1.co.th